ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ชุมชนสามารถบริหารจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนหมู่บ้านที่มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. จำนวนชุมชนต้นแบบด้านการจัดการความรู้
๓. จำนวนหมู่บ้านที่มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ

กลยุทธ์
๑. ส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ของชุมชน
๒. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการความรู้
โครงการ/กิจกรรม
๑. ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. เสริมสร้างทักษะนักจัดการความรู้


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. ทำอย่างไรที่จะทำให้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมีชีวิต
๒. ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ชุมชน
๓. ทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
๔. จะทำอย่างไรที่จะจัดการความรู้ของชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

เป้าประสงค์ คงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย คงเดิม

กลยุทธ์ คงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับข้อความของโครงการกิจกรรม ดังนี้
๑. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. พัฒนาทักษะนักจัดการความรู้


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

๑) ให้ส่งเสริมในเรื่องการสร้างพันธมิตรในการทำงานฯ(แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีพัฒนาที่มีภารกิจคล้ายๆกันมาทำงานบูรณาการทำงานเสริมแรงซึ่งกันและกัน)

๒) สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน

๓) พัฒนาขีดสมรรถนะกลไกการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน (กลไก ให้รวมถึงเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน)

๔) การนำความรู้ไปใช้ในการจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
๔.๑) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การจัดการความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ในชุมชน
๔.๒) เกิดการเรียนรู้ในตัวบุคคล เน้นการจัดการความรู้ในเรื่องของการทำงานร่วมกัน การรวมกลุ่มภายในชุมชน

๕) ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการความรู้ที่พิจารณาการจัดการความรู้แก่ชุมชนแล้วพบว่าชุมชนมีทุนทางสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ชุมชนมีผลผลิตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นหรือไม่ ชุมชนมีการจัดการที่ดีขึ้นหรือไม่ จุดเน้นย้ำที่สำคัญในการวางแผนประเด็นยุทธศาสตร์นี้ มี ๒ ประการ คือ
๕.๑) เมื่อมีการจัดการความรู้แล้วจะต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์การทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความมั่นคง
๕.๒) การจัดการความรู้ของชุมชนจะต้องสอดคล้องกับบริบทของชุมชน

โปรดกรุณาแสดงความเห็นด้านล่างนี้

1 ความคิดเห็น:

  1. ศูนย์การเรียนรู้ชอบมากเลยค่ะเพราะช่วยลดช่องว่างและลดปัญหาความแตกต่างระหว่างชุมชนได้มาก ความรู้ที่นำมาแลกเปลี่ยนกันในศูนย์เรียนรู้นี้ต้องนำวิทยากรจาทุกภาคส่วนมาให้ความรู้แก่ชุมชน อย่างครอบคลุมและบูรณาการด้วย โดยไม่คำนึงแต่ความรู้จากกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จาก กระทรวงยุติธรรม ความรู้ด้านกฏหมาย การคุ้มครองสิทธิของตนเอง และหน้าที่ต่างๆ เพื่อช่วยชุมชน นอกจาก งานของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยทั้งสุขภาพ หรือ กระทรวงวิทยาศาสตร์กระทรวงเทคโนโลยี กระทรวงพานิชย์ เหล่านี้ทำให้เกิดการพึ่งพาและใช้ความรู้ร่วมระหว่างกระทรวง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะไม่ถูกปล่อยร้างหรือว่าง ในส่วนขององค์การระหว่างประเทศมีความคาดหวังว่าประเทศของเราจะมีโอกาศของความเท่าเทียมกันเหล่านี้ในชนบทเสียที เพราะกรมการพัฒนาชุมชนและกระทรวงมหาดไทยไม่สารถนำองค์ความรู้ทุกประเภทนำสู่ชนบทได้เพียงลำพัง หรือบูรณาการเฉพาะหน่วยงานในระดับตำบลหรืออำเภอเท่านั้น ขอให้ฝันของชาวชนบทจงเป็นจริงโดยเร็ว
    THE LIFE THAT DIFFERENCE..REALLY IN THIS TIME ..MANY PEOPLE THAT GOT MORE CHANCE HAVE TO MORE PUBLIC AND MERCI MIND FOR THE LOWER CHANCE...BUT ALL COUPLE LIFE MUST PLAY TOGETHER IN THIS WORLD TO MAKE MORE KEEP BALANCE ...AND MANY BETTER CHANCES ALWAYS KEEP MORE WAY OF CHANCES OF LOW DIFFERENCE TO THE LOWER CHANCE ..AS IF SOCIAL WELFARE OR EDUCATION, OR RIGHT ON DEMOCRASY ..ON ALTERNATIVE WAY....SO..DO NOT WORRY ..BECAUSE WE STILL LIVE INSIDE THE SAME WORLD..BUT IT MUST BE UNDER NO DISCRIMINATION OF HUMANITY RIGHT BECAUSE OF CHANCE TO BORN TO BE ABOUT NO CHANCE OR OTHER THINGS LIKE THAT...HOPE IT MUST BE NOTHING LIKE THIS ANY MORE...

    ตอบลบ