ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กร




ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
๑. องค์กรมีขีดสมรรถนะสูง เก่ง และดี
๒. ประชาชนในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน
๒. ระดับความสำเร็จในการดำเนินงาน Excellence Center
๓. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
๔. ร้อยละของบุคลากรเป็น Knowledge Worker
๕. จำนวนบุคลากรที่สามารถเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HIPPs)
๖. จำนวนหน่วยงานภายในของกรมการพัฒนาชุมชนที่ใช้คอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบงานสำนักงานในการให้บริการอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
๗. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

กลยุทธ์
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
๒. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์
๓. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน
๔. สร้างคลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๒. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน
๓. คลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน (Excellence Center)
๔. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
๕. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ยึดหลักสมรรถนะ หลักผลงาน หลักการกระจายอำนาจ หลักคุณธรรมและหลักความสมดุลคุณภาพชีวิต


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. สถานการณ์ของชุมชนเปลี่ยนไป
๒. ทำอย่างไรให้คนพัฒนาชุมชนอยู่ได้อย่างสง่างาม
๓. คนเก่า องค์ความรู้ มากแต่ไม่มีการถ่ายทอด
๔. คนระดับกลาง ทำงานได้ มีความรู้ แต่ขาดขวัญกำลังใจ
๕. คนใหม่ มีความรู้ แต่ขาดอุดมการณ์ เทคนิค วิธีการ

เป้าประสงค์ คงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับใหม่เหลือตัวชี้วัด ๔ ตัว ดังนี้
๑. ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน
๒. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
๓. ระดับความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานสมรรถนะ
๔. ระดับความพึงพอใจของบุคลากรในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีความเข้มแข็ง แข็งแรงและมีกำลังใจในการปฏิบัติงานของกรมการพัฒนาชุมชน

กลยุทธ์ คงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการเพิ่มโครงการ/กิจกรรม จำนวน ๔ โครงการ รวมทั้งหมดเป็น ๙ โครงการ
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๒. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน
๓. คลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน (Excellence Center)
๔. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
๕. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ยึดหลักสมรรถนะ หลักผลงาน หลักการกระจายอำนาจ หลักคุณธรรมและหลักความสมดุลคุณภาพชีวิต
๖. เพิ่มทักษะการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแก่บุคลากรรุ่นใหม่ (พัฒนากร)
๗. จัดการความรู้คนรุ่นเก่า (คิดชื่อใหม่)
๘. กิจกรรมสร้างสุขกายสุขใจ
๙. สร้างสัมพันธ์องค์กร


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

เพื่อทำให้คนในองค์กรมีสมรรถนะสูง เก่ง และมีคุณธรรม โดยใช้เครื่องมือ การจัดการกระบวนการเรียนรู้ ค่านิยมองค์กร จรรยาบรรณข้าราชการ เพื่อให้คนในองค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ - ๕ ได้ เช่น การจัดหลักสูตรอบรมพัฒนากรในพื้นที่ให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็นได้ เป็นต้น โดยจะต้องพัฒนาสมรรถนะองค์กรที่สำคัญ คือ คน การเงินเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ และการจัดการองค์กร การวิเคราะห์สมรรถนะขององค์กรแยกพิจารณา ดังนี้

๑) คนในองค์กรจะมีกลุ่มคน ๒ ประเภท คือ กลุ่มคนดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีสมรรถนะในการทำงานต่างกัน ดังนั้น การจัดสรรคนลงสู่พื้นที่จึงต้องพิจารณาจากฐานข้อมูลของสมรรถนะรายบุคคล

๒) เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
๒.๑) เทคโนโลยีสารสนเทศภายใน สำหรับใช้ภายในเน้นระบบที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
๒.๒) เทคโนโลยีสารสนเทศภายนอก การจัดทำแผน การรายงาน การตรวจสอบข้อมูลหมู่บ้าน
๒.๓) เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประชาชนทั่วไป เน้นสิ่งที่ประชาชนสนใจ เช่น ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นต้น

๓) การจัดการความรู้ขององค์กร ต้องมีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการทำงาน

๔) องค์กร เน้นเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม ที่หน่วยงานได้กำหนดขึ้นถูกนำมาปฏิบัติจริง

๕) งบประมาณ ต้องแสวงหาแหล่งทุนโดยพิจารณาดูว่าที่ไหนทุนขาดแคลน กองการเจ้าหน้าที่ต้องรู้ว่าสมรรถนะขององค์กรด้านใดที่หน่วยงานยังขาดอยู่

๖) ให้มีการส่งเสริมในเรื่องของค่านิยมองค์กรให้กับข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน และควรมีการพัฒนาสมรรถนะให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ได้

โปรดกรุณ๊าแสดงความเห็นด้านล่างนี้

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2553 เวลา 01:48

    โครงการหลักเพิ่ม ๑ โครงการ คือเสริมสร้างความสุขกาย สุขใจความสมดุลยคุณภาพชีวิตบุคลากร สำหรับโครงการลำดับที่ 6-9 เป็นโครงการที่นำไปบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการ ไม่ใช่โครงการหลัก

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2553 เวลา 18:41

    1.ตัวชี้วัดที่ใหม่ที่ 3 เสนอปรับเป็น
    1.ร้อยละของบุคลากรเป็น knowledge worker คำอธิบายknowledge worker เป็นเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรของกรมฯ หากผ่านเกณฑ์การประเมินก็สามารถเป็นknowledge worker ได้
    2.ระดับความพึงพอใจของข้าราชการต่อระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดแผนพัฒนาองค์กรปี 2554 /หมวด 5 PMQA

    ตอบลบ
  3. .ตัวชี้วัดที่ใหม่ที่ 3 เสนอปรับเป็น
    1.ร้อยละของบุคลากรเป็น knowledge worker คำอธิบายknowledge worker เป็นเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรของกรมฯ หากผ่านเกณฑ์การประเมินก็สามารถเป็นknowledge worker ได้
    2.ระดับความพึงพอใจของข้าราชการต่อระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดแผนพัฒนาองค์กรปี 2554 /หมวด 5 PMQA

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ21 มกราคม 2553 เวลา 18:38

    บุคลากรในพื้นที่ส่วนใหญ่เกิดความท้อแท้ ขาดกำลังใจจากการบริหารจัดการบุคลากรของส่วนกลาง (เน้นระบบพรรคพวก คนใกล้ชิดได้ดิบได้ดี)

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2553 เวลา 01:01

    การพัฒนาองค์กร พช.ควรมียุทธศาสตร์ สรรหานักพัฒนาระดับตำบล/หมู่บ้านเพิ่มขึ้น ใช้ ลูกจ้างชั่วคราว/อาสา

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ7 สิงหาคม 2553 เวลา 09:01

    ต่อไป จังหวัดและอำเภอไม่ต้องคิดงานอีกแล้ว ทำตามที่กรมฯคิดและสั่ง
    ความต้องการของชาวบ้าน ชุมชน หรือการบริการประชาชน เป็นเรื่องบังหน้าหาความชอบธรรมเพื่อสนองนักการเมืองเท่านั้น ลงไปดูพื้นที่กันหน่อย ว่าจริงๆแล้ว งานที่ส่วนราชการปฏิบัติอยู่ปัจจุบันนี้ กับ เมื่อก่อน ตอนไม่มี กพร. ความตั้งใจ เต็มใจ ของข้าราชการ เพื่อบริการประชาชน ตอนไหนจะบริการได้เต็มใจ และมีประโยชน์มากกว่ากัน เมื่อมี กพร.แล้ว แสดงว่า กพ. และหน่วยตรวจสอบภายในของแต่ละส่วนราชการ ยุบไปได้เลย เอาไว้แต่ศาลปกครองก็พอและ ใครไม่พอใจใคร ก็พึงศาลฯ เอาก็แล้วกัน

    ตอบลบ