ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การขับเคลื่อนแผนชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
แผนชุมชนที่มีคุณภาพและการบูรณาการกับแผนอำเภอและแผนจังหวัด

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. ร้อยละของแผนพัฒนาชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแผน
๒. ความสำเร็จในการจัดทำแผนชุมชนเชิงบูรณาการ

กลยุทธ์
๑. พัฒนากลไกและระบบการขับเคลื่อนแผนชุมชน
๒. พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
๓. พัฒนากระบวนการบูรณาการแผนชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาแผนชุมชนเชิงบูรณาการ
๒. พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
๓. บริหารการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชน(จปฐ./
กชช.2ค)
๔. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนชุมชน
๒. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปเชื่อมต่อกับแผนชุมชน
๓. มุมมองการจัดทำแผนชุมชนเพื่อของบประมาณไม่ได้เน้นการพึ่งตนอง
๔. ความรู้ ความสามารถ ทักษะของนักพัฒนาชุมชนในการขับเคลื่อนแผนชุมชน
๕. กลไกการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแผนชุมชนไม่จริงจัง

เป้าประสงค์ มีการปรับใหม่ ดังนี้
แผนชุมชนที่มีคุณภาพและบูรณาการกับแผนพัฒนาท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับใหม่เหลือตัวชี้วัดเดียว ดังนี้
ร้อยละของแผนชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแผน

กลยุทธ์ ยังคงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับใหม่เหลือ ๒ โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
๑. การพัฒนากระบวนการแผนชุมชน
๒. การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

การพิจารณาการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนชุมชน มีดังนี้

๑) ต้องเน้นความสำคัญกับเรื่องของการบูรณาการแผนชุมชนในทุกระดับ โดยที่ยังคงรักษาขั้นตอนของการประเมินคุณภาพแผนชุมชนตามยุทธศาสตร์

๒) ควรมีการผลักดันให้กิจกรรมในแผนชุมชนที่ผ่านการบูรณาการในระดับอำเภอ/จังหวัดได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของจังหวัด

๓) การนำเสนอให้ตัดตัวชี้วัดที่ 2ในเรื่องของการบูรณาการแผนชุมชนแต่ไม่ควรกระทำเนื่องจากนโยบายการบูรณาการแผนชุมชนเป็นนโยบายระดับชาติที่รัฐบาลกำหนดไว้

๔) ควรมีการส่งเสริมให้แผนชุมชนได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง และควรมีการผลักดันให้โครงการกิจกรรมต่างๆในแผนชุมชนถูกนำไปพิจารณาในแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โปรดกรุณาแสดงความเห็นด้านล่างนี้

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2553 เวลา 02:03

    แผนชุมชนคือกระบวนการารเรียนรู้ของชุมชน และทำให้เป็นเรื่องที่ชุมชนสามารถทำได้ทุกเวลา และเป็รเรื่องปกตื ที่ต้องทำ มาตรฐานแผนตัวชี้วัดของหน่วยงานมากกว่า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2553 เวลา 21:30

    แผนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการมาตั้งแต่สมัยเป็นแรก ๆ(สภาตำบล)ปัจจุบัน มีระเบียบของกรมการปกครองเข้ามารองรับ ในฐานที่รับผิดชอบกรรมการหมู่บ้าน และมีงบประมาณในการจัดทำ กรมฯจึงควรยกเลิกภาระกิจในเรื่องการประสานการจัดทำแผนชุมชน แต่ทั้งนี้ให้กรมฯคงกระบวนการในการเรียนรู้ของประชาชน ในเรื่องการวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการเพื่อเชื่อมโยงกับการจัดเก็บข้อมูลจปฐ.กชช 2 ค.โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาโดยครอบครัว/ชุมชนเป็นหลักไม่เน้นว่า จะนำโครงการไปสู่การขอรับงบประมาณ เพราะการของรับงบประมาณจากส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นภาระและจิตสำนึกที่ชุมชนต้องดำเนินการเอง กิจกรรมตามงบประมาณที่ควรจะดำเนินการ คือ การประชาคมส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขโดยตนเอง) หมู่บ้านละ 1 ครั้ง /ปี ส่วนการบูรณาการแผนตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ชาติ /มาตรฐานแผน/ควรยกเลิกเพราะมองแล้วไม่มีประโยชน์และไม่มีหน่วยงานเอาไปใช้ ประกอบกับประวัติที่ผ่านมากรมฯทำงานในระดับพื้นฐาน (ไม้ที่ 1)ปะทะกับชุมชนโดยตรง จึงควรเน้นกิจกรรมที่พบปะกับประชาชนโดยตรง

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ21 มกราคม 2553 เวลา 18:22

    การจัดทำแผนชุมชนเน้นทางด้านวิชาการมากเกินไป (คำศัพท์ เทคนิค รูปแบบ ฯลฯ)

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ11 เมษายน 2553 เวลา 21:27

    ในต้นปี 2553 ได้มีการประชุมหารือกันใน 4 หน่วยงาน คือ สำนักนโยบายและแผน สป.มท. กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนชุมชนร่วมกัน และเป็นแนวทางเดียวกันของกระทรวงฯ คาดว่าในเดือนเมษายน 2553 นี้ จะได้มีหนังสือซักซ้อมถึงทุกจังหวัด ซึ่งต่อไปแผนท้องถิ่น แผนอำเภอ/จังหวัด ต้องมาจากแผนหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหลัก

    ตอบลบ