
ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔
เป้าประสงค์
ชุมชนมีความมั่นคงทางด้านทุนชุมชน
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
๒. จำนวนกองทุนชุมชนสามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. จำนวนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการทุนชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด
กลยุทธ์
๑. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ(financial)
๒. แสวงหาทุนชุมชนและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน (Non financial)
๓. ส่งเสริมการบูรณาการทุนชุมชนให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับพื้นที่
โครงการ/กิจกรรม
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนในชุมชน
๒. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และบำรุงรักษาทุนชุมชน
ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓
ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการพึ่งพาตนเองของชุมชน
๒. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนชุมชน
๓. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน
เป้าประสงค์ ยังคงเดิม
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ขอปรับใหม่ให้เหลือเพียงตัวชี้วัดเดียว คือ
จำนวนสถานบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์ ยังคงเดิม
โครงการ/กิจกรรม ขอปรับใหม่โดยโครงการที่ ๑ ยังคงอยู่ โครงการที่ ๒ ขอตัดออก และเพิ่มโครงการอีก ๒ โครงการ รวมเป็น ๓ โครงการ ดังนี้
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันเงินทุนชุมชน
๒. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนในชุมชน
๓. พัฒนาทุนชุมชนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (การบริหารจัดการทุนชุมชนให้เกิดมูลค่าและมีคุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพ)
ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา
เน้นกลยุทธ์ในเรื่องการพัฒนาทุนชุมชนประเภท Non Finance โดยการนำมาทำให้เกิดมูลค่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ประเด็นนี้มีตัวชี้วัด ๓ ตัว โดยมีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายแล้ว ๒ ตัวชี้วัด แต่ยังต้องพิจารณาถึงการทำงานเชิงคุณภาพว่ากองทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมีความมั่นคงหรือยัง ซึ่งต้องนำหลักทางการเงินเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ เช่น เรื่องของการมีทุนสำรองประกันความเสี่ยง ดังนั้นการตั้งเป้าประสงค์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ควรคงตัวชี้วัดเดิมเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็ควรมี
การกำหนดตัวชี้วัดจะต้องมีการบ่งบอกได้ว่าทำอย่างไรให้กองทุนเกิดความมั่นคงและกองทุนมีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ มีการกำหนดเกณฑ์การประกันความเสี่ยงของแต่ละกองทุนให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสภาพของชุมชน
การส่งเสริมทุนชุมชนต้องระบุให้ได้ว่าการส่งเสริมทุนที่ไม่ใช่เงิน เป็นการกระทำในเรื่องใด มีเป้าประสงค์อย่างไร เช่น การเพิ่มทุนในชุมชนที่ไม่ใช่เงินในเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ อาจเป็นเรื่องของการปลูกป่าชุมชน การสนับสนุนการปลูกพืชพลังงานเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น
การทำแผนในช่วงต่อไปต้องคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล ที่ส่งผลกระทบต่องานพัฒนาชุมชนในเรื่องของการพัฒนาทุนชุมชน เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลให้ธนาคารต่างๆ เข้ามาดำเนินการทำให้ชุมชนไม่สามารถพึ่งทุนของตนเองได้อย่างแท้จริง ประเด็นที่กรมฯ ควรให้ความสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การจัดตั้งธนาคารชุมชน เพราะจะเป็นการทำให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องการจัดการและ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตนเองได้
ให้พัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนและกลุ่มกองทุนเงิน ที่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดผลเชิงคุณภาพในเรื่องของการสร้างความมั่นคงให้กับทุนชุมชน
ให้เน้นกลยุทธ์ในเรื่องการพัฒนาทุนชุมชนประเภท Non Finance เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำมาทำให้เกิดมูลค่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
โปรดกรุณาให้ข้อคิดเห็นด้านล่างนี้
กิจกรรมที่ 3 ดีมาก
ตอบลบการพัฒนาทุนชุมชน ควรเริ่มทางเงินโครงการ กข.คจ. ที่ พช,สร้างมาก่อนควบคุ่กับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และเงินทุนอาชีพ กนภ.เดิม เป็นฐานในการ ดำเนินตามยุทธศาสตร์ นี้ (ของเองให้แข็งก่อน ต้า) อย่าก้าวโดยไม่แลหลัง
ตอบลบอย่าโม้มาก ใช้คำที่เห่อวิชาการ(สถาบัน...) ชาวบ้านไม่แข็งเหมือนกับที่ส่วนกลาง คิด เจ้านายมาเดินในหมู่บ้านแลต้า
ตอบลบการสร้างผู้นำที่มีจิตอาสา เช่น อช.หรือ อาสาอื่น ๆ เป็น มวยสร้าง เพื่อจัดการบริหารเงินทุนชุมชนให้ได้ เสียก่อน ตำบลละ 5 - 10 คน
ตอบลบสงสัยคนนี้มีอคติกับกรมเรามั้ง
ตอบลบสงสัยคนนี้ไม่ชอบกรมเรา
ตอบลบใครนะไม่ชอบกรมพัฒฯเราชอบกรมพัฒฯจังพื้นฐานของสังคมที่เข้มแข็งและแข็งแรงก็มาจากกรมพัฒนี่แหละช่วยกันหน่อยประเทศไทยจะได้เจริญ..
ตอบลบใครอยู่กรมนี้ก็ไม่อยากอยู่ทั้งนั้นแหละ ถ้ามีทางเลือกก็ไปแล้ว
ตอบลบ