ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ผู้นำชุมชนมีสมรรถนะในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำและขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชน (๖๙๑,๑๐๐ คน)
๒. จำนวนผู้นำชุมชนที่เป็นกลไกสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒,๗๐๔ คน)
๓. จำนวนอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนที่เป็นกลไกในการบริหารจัดการชุมชน (๕๔,๔๙๖ คน)

กลยุทธ์
๑. เพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
๒. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมผู้นำชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
๒. พัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กร เครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๓. เสริมสร้างศักยภาพอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
๔. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการชุมชน
๕. เสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชนเพื่อชุมชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข
๖. สันติสุขครอบครัวชายแดนใต้


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการพึ่งพาตนเองของชุมชน
๒. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนชุมชน
๓. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน

เป้าประสงค์ มีการปรับข้อความใหม่ คือ
ผู้นำชุมชนมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับข้อความตัวชี้วัด ๑ ตัว ยังคงเดิม ๑ ตัว และตัดออก ๑ ตัว เหลือตัวชี้วัดตามประเด็นนี้ ๒ ตัวชี้วัด คือ
๑. จำนวนผู้นำชุมชนที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด
๒. จำนวนผู้นำชุมชนที่เป็นกลไกสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


กลยุทธ์ มีการปรับกลยุทธ์ใหม่ ๑ กลยุทธ์ และคงเดิม ๑ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. เพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
๒. ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับเพิ่มเติมโครงการ/กิจกรรมให้มีความเหมาะสม ดังนี้
๑. พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน องค์การชุมชน เครือข่ายองค์การชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เสริมสร้างศักยภาพอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
๓. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการชุมชน (เชิดชูเกียรติหมู่บ้านและกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น)
๔. เสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชนเพื่อชุมชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข
๕. โครงการเพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๖. ประกาศเชิดชูเกียรติหมู่บ้านพึ่งพาตนเอง


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

ให้พิจารณาว่าควรใช้คำว่า ขีดความสามารถ หรือ สมรรถนะ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรให้ความสำคัญกับคำใด ประเด็นนี้ต้องพิจารณาโดยให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชนทั้ง ๒ ประเภท ได้แก่

๑) ผู้นำที่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะมีองค์กรต่างๆ ให้การดูแลสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพแล้ว แต่ยังจำเป็นที่จะต้องประสานการทำงาน

๒) ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ เป็นเรื่องที่ท้าทายของกรมฯ จะต้องสร้างให้ผู้นำประเภทนี้กลายเป็นผู้นำที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงานชุมชน แต่ยังขาดการจัดการความรู้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญก็คือการที่จะต้องเร่งสร้างผู้นำชุมชนที่เป็นเยาวชนเพื่อสร้างหัวหน้ากลุ่มของชุมชนในอนาคตสำหรับการจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
เน้นเรื่องการสร้างผู้นำอย่างต่อเนื่องให้ความสำคัญกับเรื่องผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ สร้างต้นแบบการพัฒนาให้กับเยาวชนในชุมชน

การสร้างศักยภาพให้ผู้นำชุมชนมืออาชีพคือการสร้างกลไกเป็นแกนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1-5 คือ การจัดการทุนชุมชน การสร้างเศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการแผนชุมชน และการจัดการความรู้ชุมชน
ดังนั้นกลุ่มบุคคลเป้าหมายในประเด็นยุทธศาสตร์จึงควรเป็นบุคคลที่ได้ทำกิจกรรมทั้งในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ - ๕ ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งจะต้องสร้างความเข้าใจในการทำงานพัฒนาชุมชนในอนาคตให้กับกลุ่มเป้าหมายให้ได้

โปรดกรุณาแดสงความเห็นด้านล่างนี้

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2553 เวลา 00:44

    การพัฒนาผู้นำ สร้าง อช.ในระดับหมู่บ้าน ให้เป็น ผช.พัฒนากร ที่เข้าใจปรัชญาและหลักการทำงานพัฒนาชุมชน จำนวน 5 - 10 คน โดยเป็นผู้นำในเชิงอาสาสมัคร ประจำหมู่บ้าน

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2553 เวลา 00:49

    ในหมู่บ้านมี ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำ(หัวหน้าราษฎร ) ควรทำอย่างกับ กรม ปค.ที่สร้างให้ผญบ./กำนัน เป็นอาสาพัฒนาชุมชนให้ได้ ร้อยละ 25 ต่อปี โดยใช้ตัวชี้วัด 7 ตัวของ อช.ปี 53

    ตอบลบ