การทบทวนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน


กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ มามากกว่าครึ่งแผนฯ ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปหลายประการ ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง นโยบายการบริหารงานของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งการปรับโครงสร้างและบทบาทภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริหารยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
ดังนั้น กองแผนงานจึงได้จัดทำโครงการการทบทวนแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
๑) เพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงมหาดไทย ภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน สถานการณ์ปัจจุบัน
๒) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ๒๕๕๔ ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ฉัตรมงคล แน่นหนา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรดำเนินการ

ผลการทบทวนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๖ - ๗ มกราคม ๒๕๕๓ ปรากฏผล ในแต่ละรายการ ดังนี้

ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

วิสัยทัศน์
“กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน”

พันธกิจ
๑) สร้างพลังชุมชน
๒) สร้างระบบจัดการความรู้
๓) สร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน

เป้าหมาย
๑) ชุมชนเข้มแข็ง
๒) ประชาชนพึ่งตนเองได้
๓) ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข

สำหรับการทบทวน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ยังคงไว้เช่นเดิมตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ เนื่องจากการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้โครงการ/กิจกรรมตามประเด็นยุทธศาสตร์ สามารถขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรดให้ข้อคิดเห็นในส่วนนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาทุนชุมชน





ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ชุมชนมีความมั่นคงทางด้านทุนชุมชน

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
๒. จำนวนกองทุนชุมชนสามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. จำนวนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการทุนชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด

กลยุทธ์
๑. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ(financial)
๒. แสวงหาทุนชุมชนและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน (Non financial)
๓. ส่งเสริมการบูรณาการทุนชุมชนให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับพื้นที่

โครงการ/กิจกรรม
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนในชุมชน
๒. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และบำรุงรักษาทุนชุมชน


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการพึ่งพาตนเองของชุมชน
๒. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนชุมชน
๓. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน

เป้าประสงค์ ยังคงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ขอปรับใหม่ให้เหลือเพียงตัวชี้วัดเดียว คือ
จำนวนสถานบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ ยังคงเดิม

โครงการ/กิจกรรม ขอปรับใหม่โดยโครงการที่ ๑ ยังคงอยู่ โครงการที่ ๒ ขอตัดออก และเพิ่มโครงการอีก ๒ โครงการ รวมเป็น ๓ โครงการ ดังนี้
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันเงินทุนชุมชน
๒. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนในชุมชน
๓. พัฒนาทุนชุมชนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (การบริหารจัดการทุนชุมชนให้เกิดมูลค่าและมีคุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพ)



ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

เน้นกลยุทธ์ในเรื่องการพัฒนาทุนชุมชนประเภท Non Finance โดยการนำมาทำให้เกิดมูลค่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

ประเด็นนี้มีตัวชี้วัด ๓ ตัว โดยมีการดำเนินการบรรลุเป้าหมายแล้ว ๒ ตัวชี้วัด แต่ยังต้องพิจารณาถึงการทำงานเชิงคุณภาพว่ากองทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นมีความมั่นคงหรือยัง ซึ่งต้องนำหลักทางการเงินเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ เช่น เรื่องของการมีทุนสำรองประกันความเสี่ยง ดังนั้นการตั้งเป้าประสงค์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ควรคงตัวชี้วัดเดิมเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันก็ควรมี

การกำหนดตัวชี้วัดจะต้องมีการบ่งบอกได้ว่าทำอย่างไรให้กองทุนเกิดความมั่นคงและกองทุนมีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ มีการกำหนดเกณฑ์การประกันความเสี่ยงของแต่ละกองทุนให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสภาพของชุมชน

การส่งเสริมทุนชุมชนต้องระบุให้ได้ว่าการส่งเสริมทุนที่ไม่ใช่เงิน เป็นการกระทำในเรื่องใด มีเป้าประสงค์อย่างไร เช่น การเพิ่มทุนในชุมชนที่ไม่ใช่เงินในเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ อาจเป็นเรื่องของการปลูกป่าชุมชน การสนับสนุนการปลูกพืชพลังงานเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น

การทำแผนในช่วงต่อไปต้องคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล ที่ส่งผลกระทบต่องานพัฒนาชุมชนในเรื่องของการพัฒนาทุนชุมชน เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลให้ธนาคารต่างๆ เข้ามาดำเนินการทำให้ชุมชนไม่สามารถพึ่งทุนของตนเองได้อย่างแท้จริง ประเด็นที่กรมฯ ควรให้ความสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การจัดตั้งธนาคารชุมชน เพราะจะเป็นการทำให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องการจัดการและ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตนเองได้

ให้พัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนและกลุ่มกองทุนเงิน ที่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดผลเชิงคุณภาพในเรื่องของการสร้างความมั่นคงให้กับทุนชุมชน
ให้เน้นกลยุทธ์ในเรื่องการพัฒนาทุนชุมชนประเภท Non Finance เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำมาทำให้เกิดมูลค่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

โปรดกรุณาให้ข้อคิดเห็นด้านล่างนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น
๒. จำนวนหมู่บ้านที่มีศักยภาพชุมชนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์
๑. ส่งเสริมการผลิตให้ได้มาตรฐาน
๒. ส่งเสริมการบริหารผลิตภัณฑ์ (Product management) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการ/กิจกรรม
๑ ยกระดับการผลิตและส่งเสริมการพัฒนาสินค้าชุมชนให้ได้มาตรฐาน
๒ ส่งเสริมการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาดสินค้าชุมชน
๓ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์
๒. ธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร

เป้าประสงค์ ยังคงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ขอเพิ่มตัวชี้วัดใหม่อีก ๑ ตัวชี้วัด คือ
ร้อยละของครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายที่ดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ ขอเพิ่มใหม่อีก ๑ กลยุทธ์ คือ
ขับเคลื่อนการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ/กิจกรรม ยังคงเดิม


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนต้องตั้งประเด็นพิจารณา ๒ ประเด็น คือ

๑) เศรษฐกิจชุมชน ต้องมีการตั้งเป้าหมายในเรื่องของการพัฒนารายได้ต่อครัวเรือนของชุมชนโดยให้มีเกณฑ์ของการเติบโตไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ต่ำสุดของอัตราการเจริญเติบโตทั้งประเทศ โดยเน้นเรื่องการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาล

๒) เศรษฐกิจพอเพียง ต้องส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเน้นการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากที่สุด รวมทั้งจัดให้มีการจัดการความเสี่ยงให้กับประชาชน
สิ่งที่ควรให้ความสนใจในประเด็นยุทธศาสตร์นี้ คือ การเข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อให้สามารถจัดการความเสี่ยงและยึดหลักความไม่ประมาทในทางเศรษฐกิจ โดยให้เน้นการให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในพื้นที่เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนในชุมชนในเรื่องของกระบวนการผลิตพัฒนากรจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ

โปรดกรุณาให้ข้อคิดเห็นด้านล่างนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ผู้นำชุมชนมีสมรรถนะในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำและขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชน (๖๙๑,๑๐๐ คน)
๒. จำนวนผู้นำชุมชนที่เป็นกลไกสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (๒,๗๐๔ คน)
๓. จำนวนอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนที่เป็นกลไกในการบริหารจัดการชุมชน (๕๔,๔๙๖ คน)

กลยุทธ์
๑. เพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
๒. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมผู้นำชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน
๒. พัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กร เครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๓. เสริมสร้างศักยภาพอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
๔. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการชุมชน
๕. เสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชนเพื่อชุมชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข
๖. สันติสุขครอบครัวชายแดนใต้


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการพึ่งพาตนเองของชุมชน
๒. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนชุมชน
๓. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชน

เป้าประสงค์ มีการปรับข้อความใหม่ คือ
ผู้นำชุมชนมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับข้อความตัวชี้วัด ๑ ตัว ยังคงเดิม ๑ ตัว และตัดออก ๑ ตัว เหลือตัวชี้วัดตามประเด็นนี้ ๒ ตัวชี้วัด คือ
๑. จำนวนผู้นำชุมชนที่มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนตามเกณฑ์ที่กำหนด
๒. จำนวนผู้นำชุมชนที่เป็นกลไกสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


กลยุทธ์ มีการปรับกลยุทธ์ใหม่ ๑ กลยุทธ์ และคงเดิม ๑ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. เพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
๒. ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับเพิ่มเติมโครงการ/กิจกรรมให้มีความเหมาะสม ดังนี้
๑. พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน องค์การชุมชน เครือข่ายองค์การชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เสริมสร้างศักยภาพอาสาพัฒนา/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
๓. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการชุมชน (เชิดชูเกียรติหมู่บ้านและกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น)
๔. เสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชนเพื่อชุมชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข
๕. โครงการเพิ่มศักยภาพผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ในการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๖. ประกาศเชิดชูเกียรติหมู่บ้านพึ่งพาตนเอง


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

ให้พิจารณาว่าควรใช้คำว่า ขีดความสามารถ หรือ สมรรถนะ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์กรให้ความสำคัญกับคำใด ประเด็นนี้ต้องพิจารณาโดยให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชนทั้ง ๒ ประเภท ได้แก่

๑) ผู้นำที่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะมีองค์กรต่างๆ ให้การดูแลสนับสนุนในการพัฒนาคุณภาพแล้ว แต่ยังจำเป็นที่จะต้องประสานการทำงาน

๒) ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ เป็นเรื่องที่ท้าทายของกรมฯ จะต้องสร้างให้ผู้นำประเภทนี้กลายเป็นผู้นำที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงานชุมชน แต่ยังขาดการจัดการความรู้ นอกจากนี้สิ่งสำคัญก็คือการที่จะต้องเร่งสร้างผู้นำชุมชนที่เป็นเยาวชนเพื่อสร้างหัวหน้ากลุ่มของชุมชนในอนาคตสำหรับการจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
เน้นเรื่องการสร้างผู้นำอย่างต่อเนื่องให้ความสำคัญกับเรื่องผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ สร้างต้นแบบการพัฒนาให้กับเยาวชนในชุมชน

การสร้างศักยภาพให้ผู้นำชุมชนมืออาชีพคือการสร้างกลไกเป็นแกนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1-5 คือ การจัดการทุนชุมชน การสร้างเศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการแผนชุมชน และการจัดการความรู้ชุมชน
ดังนั้นกลุ่มบุคคลเป้าหมายในประเด็นยุทธศาสตร์จึงควรเป็นบุคคลที่ได้ทำกิจกรรมทั้งในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ - ๕ ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งจะต้องสร้างความเข้าใจในการทำงานพัฒนาชุมชนในอนาคตให้กับกลุ่มเป้าหมายให้ได้

โปรดกรุณาแดสงความเห็นด้านล่างนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การขับเคลื่อนแผนชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
แผนชุมชนที่มีคุณภาพและการบูรณาการกับแผนอำเภอและแผนจังหวัด

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. ร้อยละของแผนพัฒนาชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแผน
๒. ความสำเร็จในการจัดทำแผนชุมชนเชิงบูรณาการ

กลยุทธ์
๑. พัฒนากลไกและระบบการขับเคลื่อนแผนชุมชน
๒. พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
๓. พัฒนากระบวนการบูรณาการแผนชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาแผนชุมชนเชิงบูรณาการ
๒. พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
๓. บริหารการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชน(จปฐ./
กชช.2ค)
๔. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนชุมชน
๒. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปเชื่อมต่อกับแผนชุมชน
๓. มุมมองการจัดทำแผนชุมชนเพื่อของบประมาณไม่ได้เน้นการพึ่งตนอง
๔. ความรู้ ความสามารถ ทักษะของนักพัฒนาชุมชนในการขับเคลื่อนแผนชุมชน
๕. กลไกการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแผนชุมชนไม่จริงจัง

เป้าประสงค์ มีการปรับใหม่ ดังนี้
แผนชุมชนที่มีคุณภาพและบูรณาการกับแผนพัฒนาท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับใหม่เหลือตัวชี้วัดเดียว ดังนี้
ร้อยละของแผนชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแผน

กลยุทธ์ ยังคงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับใหม่เหลือ ๒ โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
๑. การพัฒนากระบวนการแผนชุมชน
๒. การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

การพิจารณาการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนชุมชน มีดังนี้

๑) ต้องเน้นความสำคัญกับเรื่องของการบูรณาการแผนชุมชนในทุกระดับ โดยที่ยังคงรักษาขั้นตอนของการประเมินคุณภาพแผนชุมชนตามยุทธศาสตร์

๒) ควรมีการผลักดันให้กิจกรรมในแผนชุมชนที่ผ่านการบูรณาการในระดับอำเภอ/จังหวัดได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของจังหวัด

๓) การนำเสนอให้ตัดตัวชี้วัดที่ 2ในเรื่องของการบูรณาการแผนชุมชนแต่ไม่ควรกระทำเนื่องจากนโยบายการบูรณาการแผนชุมชนเป็นนโยบายระดับชาติที่รัฐบาลกำหนดไว้

๔) ควรมีการส่งเสริมให้แผนชุมชนได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง และควรมีการผลักดันให้โครงการกิจกรรมต่างๆในแผนชุมชนถูกนำไปพิจารณาในแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โปรดกรุณาแสดงความเห็นด้านล่างนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน



ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
ชุมชนสามารถบริหารจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. จำนวนหมู่บ้านที่มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. จำนวนชุมชนต้นแบบด้านการจัดการความรู้
๓. จำนวนหมู่บ้านที่มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ

กลยุทธ์
๑. ส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ของชุมชน
๒. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการความรู้
โครงการ/กิจกรรม
๑. ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. เสริมสร้างทักษะนักจัดการความรู้


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. ทำอย่างไรที่จะทำให้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมีชีวิต
๒. ทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ชุมชน
๓. ทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
๔. จะทำอย่างไรที่จะจัดการความรู้ของชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

เป้าประสงค์ คงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย คงเดิม

กลยุทธ์ คงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการปรับข้อความของโครงการกิจกรรม ดังนี้
๑. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. พัฒนาทักษะนักจัดการความรู้


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

๑) ให้ส่งเสริมในเรื่องการสร้างพันธมิตรในการทำงานฯ(แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีพัฒนาที่มีภารกิจคล้ายๆกันมาทำงานบูรณาการทำงานเสริมแรงซึ่งกันและกัน)

๒) สร้างและพัฒนาเครื่องมือในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน

๓) พัฒนาขีดสมรรถนะกลไกการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน (กลไก ให้รวมถึงเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน)

๔) การนำความรู้ไปใช้ในการจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
๔.๑) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การจัดการความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ในชุมชน
๔.๒) เกิดการเรียนรู้ในตัวบุคคล เน้นการจัดการความรู้ในเรื่องของการทำงานร่วมกัน การรวมกลุ่มภายในชุมชน

๕) ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการความรู้ที่พิจารณาการจัดการความรู้แก่ชุมชนแล้วพบว่าชุมชนมีทุนทางสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ชุมชนมีผลผลิตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นหรือไม่ ชุมชนมีการจัดการที่ดีขึ้นหรือไม่ จุดเน้นย้ำที่สำคัญในการวางแผนประเด็นยุทธศาสตร์นี้ มี ๒ ประการ คือ
๕.๑) เมื่อมีการจัดการความรู้แล้วจะต้องถูกนำไปใช้ประโยชน์การทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความมั่นคง
๕.๒) การจัดการความรู้ของชุมชนจะต้องสอดคล้องกับบริบทของชุมชน

โปรดกรุณาแสดงความเห็นด้านล่างนี้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กร




ข้อมูลตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔

เป้าประสงค์
๑. องค์กรมีขีดสมรรถนะสูง เก่ง และดี
๒. ประชาชนในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
๑. ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน
๒. ระดับความสำเร็จในการดำเนินงาน Excellence Center
๓. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
๔. ร้อยละของบุคลากรเป็น Knowledge Worker
๕. จำนวนบุคลากรที่สามารถเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HIPPs)
๖. จำนวนหน่วยงานภายในของกรมการพัฒนาชุมชนที่ใช้คอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบงานสำนักงานในการให้บริการอย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์
๗. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

กลยุทธ์
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
๒. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์
๓. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน
๔. สร้างคลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน

โครงการ/กิจกรรม
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๒. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน
๓. คลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน (Excellence Center)
๔. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
๕. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ยึดหลักสมรรถนะ หลักผลงาน หลักการกระจายอำนาจ หลักคุณธรรมและหลักความสมดุลคุณภาพชีวิต


ข้อมูลการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในวันที่ ๖ – ๗ มกราคม ๒๕๕๓

ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้
๑. สถานการณ์ของชุมชนเปลี่ยนไป
๒. ทำอย่างไรให้คนพัฒนาชุมชนอยู่ได้อย่างสง่างาม
๓. คนเก่า องค์ความรู้ มากแต่ไม่มีการถ่ายทอด
๔. คนระดับกลาง ทำงานได้ มีความรู้ แต่ขาดขวัญกำลังใจ
๕. คนใหม่ มีความรู้ แต่ขาดอุดมการณ์ เทคนิค วิธีการ

เป้าประสงค์ คงเดิม

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการปรับใหม่เหลือตัวชี้วัด ๔ ตัว ดังนี้
๑. ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน
๒. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
๓. ระดับความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานสมรรถนะ
๔. ระดับความพึงพอใจของบุคลากรในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีความเข้มแข็ง แข็งแรงและมีกำลังใจในการปฏิบัติงานของกรมการพัฒนาชุมชน

กลยุทธ์ คงเดิม

โครงการ/กิจกรรม มีการเพิ่มโครงการ/กิจกรรม จำนวน ๔ โครงการ รวมทั้งหมดเป็น ๙ โครงการ
๑. พัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๒. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน
๓. คลังความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน (Excellence Center)
๔. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน
๕. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ยึดหลักสมรรถนะ หลักผลงาน หลักการกระจายอำนาจ หลักคุณธรรมและหลักความสมดุลคุณภาพชีวิต
๖. เพิ่มทักษะการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแก่บุคลากรรุ่นใหม่ (พัฒนากร)
๗. จัดการความรู้คนรุ่นเก่า (คิดชื่อใหม่)
๘. กิจกรรมสร้างสุขกายสุขใจ
๙. สร้างสัมพันธ์องค์กร


ข้อคิดเห็นจากที่ปรึกษา และผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อประกอบการพิจารณา

เพื่อทำให้คนในองค์กรมีสมรรถนะสูง เก่ง และมีคุณธรรม โดยใช้เครื่องมือ การจัดการกระบวนการเรียนรู้ ค่านิยมองค์กร จรรยาบรรณข้าราชการ เพื่อให้คนในองค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ที่ ๑ - ๕ ได้ เช่น การจัดหลักสูตรอบรมพัฒนากรในพื้นที่ให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็นได้ เป็นต้น โดยจะต้องพัฒนาสมรรถนะองค์กรที่สำคัญ คือ คน การเงินเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ และการจัดการองค์กร การวิเคราะห์สมรรถนะขององค์กรแยกพิจารณา ดังนี้

๑) คนในองค์กรจะมีกลุ่มคน ๒ ประเภท คือ กลุ่มคนดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีสมรรถนะในการทำงานต่างกัน ดังนั้น การจัดสรรคนลงสู่พื้นที่จึงต้องพิจารณาจากฐานข้อมูลของสมรรถนะรายบุคคล

๒) เทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ
๒.๑) เทคโนโลยีสารสนเทศภายใน สำหรับใช้ภายในเน้นระบบที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
๒.๒) เทคโนโลยีสารสนเทศภายนอก การจัดทำแผน การรายงาน การตรวจสอบข้อมูลหมู่บ้าน
๒.๓) เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับประชาชนทั่วไป เน้นสิ่งที่ประชาชนสนใจ เช่น ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นต้น

๓) การจัดการความรู้ขององค์กร ต้องมีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการทำงาน

๔) องค์กร เน้นเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม ที่หน่วยงานได้กำหนดขึ้นถูกนำมาปฏิบัติจริง

๕) งบประมาณ ต้องแสวงหาแหล่งทุนโดยพิจารณาดูว่าที่ไหนทุนขาดแคลน กองการเจ้าหน้าที่ต้องรู้ว่าสมรรถนะขององค์กรด้านใดที่หน่วยงานยังขาดอยู่

๖) ให้มีการส่งเสริมในเรื่องของค่านิยมองค์กรให้กับข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน และควรมีการพัฒนาสมรรถนะให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ได้

โปรดกรุณ๊าแสดงความเห็นด้านล่างนี้

การทบทวนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔


ไฟล์เสียงจากการประชุมทบทวนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔ ในวันที่ ๖-๗ มกราคม ๒๕๕๓ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://61.19.224.16/plan/POLICY&STRATEGY.htm